Archive | คู่มือ RSS feed for this section

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

13 ก.ค.

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

คอมพิวเตอร์ (Computer) คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการกับข้อมูล (Data) ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์อื่นที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยปฏิบัติงานภายใต้การควบคุม ของชุดคำสั่งที่อยู่ ในหน่วย ความจำของคอมพิวเตอร์เอง เพื่อทำการคำนวณและแสดงผลลัพธ์ออกทางอุปกรณ์แสดงผล โดยที่ผลลัพธ์เหล่านี้จัดว่าเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและเรียบเรียงแล้ว จะเรียกผลลัพธ์นี้ว่า “สารสนเทศ (Information)”
คอมพิวเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลให้ได้สารสนเทศ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นคือ ทำงานได้รวดเร็ว สามารถคิดคำนวณตัวเลขจำนวนมากได้รวดเร็วและแม่นยำ การคิดคำนวณและจัดการข้อมูลจึงทำได้มาก และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย คอมพิวเตอร์ยังจัดเก็บข้อมูลไว้สำหรับประมวลผลได้มาก เมื่อจัดเก็บแล้วสามารถเรียกค้น หรือคัดแยกได้เร็ว สามารถดำเนินการต่าง ๆ ตามโปรแกรมที่วางไว้คอมพิวเตอร์ทำงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ตามหลักการที่นอยแมนเสนอใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำสำหรับการเก็บโปรแกรมและข้อมูล การทำงานของคอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทำงานตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ เรียกรวมว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware)
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลักๆ ประกอบด้วย
ตัวเครื่อง (Case) ทำหน้าที่ในส่วนของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาจากอุปกรณ์นำเข้าต่างๆ ซึ่งภายในตัวเครื่องจะมีอุปกรณ์หลัก ได้แก่ แผงวงจรหลัก หม้อแปลงไฟฟ้า ซีพียู ฮาร์ดดิสก์หน่วยความจำ การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น
จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่แสดงผลข้อความ รูปภาพ
ดิสก์ไดร์ฟ (Disk drive) เป็นอุปกรณ์อ่าน-เขียนข้อมูลบนดิสก์เก็ต
คีย์บอร์ด (Keyboard)ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
เมาส์ (Mouse) เป็นส่วนที่ใช้สั่งงานด้วยการชี้และเลือกสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนจอภาพ
ลำโพง (Speaker) เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลที่เป็นเสียง

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

จำแนกตามหน้าที่ของฮาร์ดแวร์ต่างๆ สามารถแบ่งเป็นส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit – CPU) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ

3. หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล

4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลหรือผ่านการคำนวณแล้ว

5. อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูลมีหลากหลายอุปกรณ์ ได้แก่
1. คีย์บอร์ด (Keyboard) อุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์เป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต (Operator)

2 เมาส์ (Mouse) อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ

3. OCR (Optical Character Reader) อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยใช้วิธีการอ่านข้อมูลด้วยลำแสงในลักษณะพาดขวางบนเอกสารที่มีข้อมูลอยู่ แล้วแปลงรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โอซีอาร์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode reader)


4. OMR (Optical Mark Reader) อุปกรณ์นำเข้าที่ทำงานโดยการอ่านข้อมูลจากการทำเครื่องหมายด้วยดินสอและปากกาลงบนกระดาษคำตอบ (Answer sheet) ซึ่งถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ

5. สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย

7. ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงานวาดภาพ

ขอบคุณเว็บไซต์  http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/08/web/lesson/lesson_3/lesson_3_1_2.html

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Microsoft Word 2003

13 ก.ค.

การใช้งานโปรแกรม  Microsoft Office Word  2003

                โปรแกรม  Microsoft Office Word 2003 เป็นหนึ่งโปรแกรมในชุด  Microsoft Office 2003  ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากใช้งานง่าย มีหน้าที่ของโปรแกรม เมนูคำสั่ง และรวมถึงการให้ความช่วยเหลือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ซึ่งโปรแกรมถูกออกแบบมาเพื่องานด้านเอกสารต่าง  ๆ  เช่น  จดหมาย  รายงาน  คู่มือต่าง ๆ ใบปะหน้าแฟกซ์ และบันทึกข้อความ เป็นต้น

                ลักษณะเด่นและความสามารถของโปรแกรม Microsoft Word 2003 คือสามารถที่จะสร้างเอกสารได้ง่าย  ตัวอย่างเช่น

  1. ผู้ช่วยเหลือ  (Office Assistance) ให้ความช่วยเหลือได้ทั้งสอบถามคำสั่งต่าง ๆ  และวิธีการใช้งานโปรแกรม
  2. มีการตกแต่งเอกสารที่ง่าย ทำได้ทั้งรูปแบบตัวอักษรและย่อหน้า  (Paragraph)
  3. มีการสร้างเอกสารจากต้นแบบ (Templates) ในลักษณะต่าง ๆ
  4. สามารถสร้างตารางเพื่อเป็นส่วนประกอบของเอกสาร
  5. สามารถใส่รูปภาพที่ได้มาจากคลิปอาร์ต  อินเตอร์เน็ต  กล้องดิจิตอล  เครื่องสแกน และรูปภาพ
  6. มีระบบอัตโนมัติในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ช่วยเตือนหรือแก้ไขเพื่อให้งานที่สร้างมาเสร็จสมบูรณ์  ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
  7. สามารถสร้างเอกสารในรูปแบบ HTML  (Hypertext Markup  Language) หรือที่เรียกว่าเว็บเพจ (Webpage)
  8. อนุญาตให้บันทึกอกสารในรูปแบบ XML (Extensible Markup Language)  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแยกเนื้อหาของเอกสารออกจากขอบเขตของรูปแบบของเอกสาร
  9. สามารถล็อกเอกสารและรูปแบบ หรือรูปแบบหมายเลข เท็มเพลต เพื่อให้เอกสารที่ถูกเรียกใช้งานอยู่ในรูปแบบเดียวกัน

1.  การเรียกใช้โปรแกรม  Microsoft Word 2003

                การเรียกใช้โปรแกรม Microsoft Word2003  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. คลิกที่ปุ่ม  Start
  2. คลิกเลือก  Programs
  3. คลิกเลือก  Microsoft Office
  4. คลิกเลือก  Microsoft Office Word 2003

 2.  ส่วนประกอบของหน้าจอของ  Microsoft Office Word 2003 

  1. แถบเมนูคำสั่ง  (Menu Bar)  ทำหน้าที่แสดงคำสั่ง  ซึ่งจะมีทั้งเมนูภาษาไทย และเมนูภาษาอังกฤษ
  2. แถบเครื่องมือ  (Toolbar) ทำหน้าที่แสดงปุ่มต่าง ๆ ที่ใช้งานบ่อย ๆ เช่น ปุ่มบันทึก (Save) เป็นต้น  เป็นการเลือกใช้คำสั่งจากปุ่มคำสั่งต่าง ๆ  ที่มีให้เลือกบนแถบเครื่องมือแต่ละแถบ  แทนการเลือกจากเมนูคำสั่ง  แถบเครื่องมือที่ใช้บ่อย ๆ เช่น แถบเครื่องมือมาตรฐาน (Standard Toolbar) และแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ  (Formatting Toolbar)
  3. เคอร์เซอร์  (Insertion Point)  ทำหน้าที่เป็นตัวอักษรบอกตำแหน่งที่เริ่มพิมพ์หรือตำแหน่งที่เริ่มแก้ไข
  4. แถบแสดงสถานะ  (Status Bar) ทำหน้าที่แสดงตำแหน่งของตัวแทรกข้อความว่าอยู่ที่หน้าใด และจำนวนทั้งหมดของเอกสารว่ามีจำนวนทั้งหมดกี่หน้า รวมทั้งสถานะต่าง ๆ  เกี่ยวกับด้านการพิมพ์ และการแก้ไข
  5. แถบเลื่อน (Scroll Bar)  ทำหน้าที่เลื่อนมุมมองของจอภาพในแนวตั้งหรือแนวนอน จอภาพไม่สามารถแสดงข้อมูลได้ครบ
  6. ปุ่มควบคุมหน้าต่างไฟล์  (Control Button)  ประกอบด้วยปุ่มต่าง ๆ โดยจะมีสถานะคือ

– ปุ่มย่อหน้าต่าง (Minimize)  ทำหน้าที่ย่อหน้าของโปรแกรมที่เปิดใช้งานอยู่ มาเก็บไว้ที่ทาสก์บาร์

– ปุ่มขยายหน้าต่าง (Maximize)  ทำหน้าที่ขยายหน้าของโปรแกรม ให้เต็มพื้นที่ทั้งหมดของโปรแกรม

– ปุ่มกลับสู่สภาพเดิม  (Restore Down)  ทำหน้าที่ขยายหน้าต่างกลับไปมีขนาดเท่ากับขนาดที่ก่อนขยายหน้าต่างโปรแกรมให้เต็มจอ

– ปุ่มปิดหน้าต่าง  (Close)  ทำหน้าที่ออกจากหน้าต่าง หรือออกจากโปรแกรม

  1. ไม้บรรทัด (Ruler)  เป็นเครื่องมือที่ช่วยวัดระยะขอบกระดาษ
  2. แถบเครื่องมือ  Task Pane  เป็นแถบเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานหลาย ๆ ด้าน เช่น  New Document, Clip Art  และ  Clipboard

3. แถบเครื่องมือ  (Toolbar)

แถบเครื่องมือ คือ  ปุ่มของคำสั่งที่ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้โดยตรง  เพื่อที่จะได้รับความสะดวกในการเรียกใช้คำสั่งที่ถูกเรียกใช้งานบ่อย ๆ  แถบเครื่องมือที่ถูกเปิดใช้เป็นประจำหรือเป็นแถบเครื่องมือมาตรฐานมี 2 แถบเครื่องมือ  คือ

                3.1  แถบเครื่องมือมาตรฐาน  (Standard  Toolbar)

                3.2  แถบเครื่องรูปแบบ (Formatting Toolbar) 

                แถบเครื่องมือนั้นสามารถที่จะซ่อมหรือแสดงได้ด้วยวิธีต่าง ๆ  ดังนี้

                                วิธีที่ 1 คลิกเลือกเมนู  มุมมอง  >  แถบเครื่องมือ

                                วิธีที่ 2 คลิกขวาที่บริเวณแถบเครื่องมือหรือแถบเมนูและเลือกชื่อแถบเครื่องมือ

วิธีที่  1                                                                                   วิธีที่  2  

แถบเครื่องมือมาตรฐาน (Standard Tools Bar) เช่น

สัญรูป

หน้าที่

สร้างเอกสารใหม่(New) ใช้ในการสร้างเอกสารใหม่
เปิด(Open) ใช้ในการเปิดเอกสารที่มีอยู่แล้ว
บันทึก(Save) ใช้ในการบันทึกหรือจัดเก็บเอกสาร
พิมพ์ (Print) ใช้ในการพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์
ตัวอย่างก่อนพิมพ์ (Print Preview) ใช้ในการขอดูเอกสารก่อนพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์
ตัด (Cut) ใช้ในการตัดข้อความที่เลือกเก็บไว้ใช้งานต่อ
คัดลอก(Copy) ใช้ในการคัดลอกข้อความที่เลือกไว้เพื่อทำงานต่อ
วาง(Past) ใช้ในการนำข้อความมาวางในตำแหน่งที่ต้องการ
ย่อ/ขยาย(Zoom Contrl) ใช้ในการย่อหรือขยายเอกสารตามสัดส่วนที่ต้องการ
จัดรูปแบบ(Style) ใช้ในการเลือกลักษณะของเอกสาร
แบบอักษร(Font) ใช้ในการเลือกแบบตัวอักษร
ขนาดแบบอักษร(Font Size) ใช้ในการเลือกขนาดตัวอักษร
ตัวหนา(Bold) ใช้ในการทำตังอักษรเป็นตัวหนา
ตังเอียง(Italic) ใช้ทำตังเป็นตัวเอียง
ขีดเส้นใต้(Underlind) ใช้ทำตัวอักษรเป็นตัวขีดเส้นใต้
จัดชิดซ้าย (Align Left) ใช้จัดข้อความชิดซ้าย
กึ่งกลาง (Center) ใช้จัดข้อความแบบกึ่งกลาง
จัดชิดขวา (Align Right) ใช้จัดข้อความชิดขวา
ชิดขอบ (Justift) ใช้จัดข้อความด้านหน้า – ด้านหลังเสมอกัน

สัญรูป

หน้าที่

ลำดับเลข(Numbering) ใช้ใส่ลำดับเลขที่หน้าข้อความ
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย ใส่สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยหน้าข้อความ
ลดการเยื้อง(Decrease Indent) ใช้ลดระยะเยื้องของข้อความ
เพิ่มการเยื้อง (Increase Indent) ใช้เพิ่มระยะเยื้องของข้อความ
ภายนอกขอบ(Border) ใช้ลากเส้นเพื่อตีกรอบเอกสาร
เน้น ใช้ระบายสีเพื่อเน้นข้อความ
สีแบบอักษร(Font color) ใช้เปลี่ยนสีอักษรหรือข้อความ

การแทรกรูปภาพและข้อความศิลป์

แถบเครื่องมือสำหรับตกแต่งรูปภาพ

สัญรูป

หน้าที่

แทรกรูปภาพ ใช้เปลี่ยนภาพที่เลือก โดยเลือกมาจากไฟล์อื่น
สี กำหนดคุณสมบัติของภาพ เช่น ปรับให้เป็นภาพขาวดำ
เพิ่มความชัด เพิ่มความคมชัดของรูปภาพ
ลดความชัด ลดความคมชัดของรูปภาพ
เพิ่มความสว่าง เพิ่มความสว่างให้กับรูปภาพ
ลดความสว่าง ลดความสว่างให้กับรูปภาพ
ครอบตัด ใช้ตัดภาพให้เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการ
ลักษณะเส้น ใช้สร้างกรอบของภาพ
การตัดข้อความ ใช้กำหนดให้อักษรล้อมรอบรูปภาพในรูปแบบต่างๆ
จัดรูปแบบวัตถุ ปรับแต่งองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ความกว้าง ความยาว
กำหนดสีโปร่งใส ทำให้สีที่ถูกคลิกกลายเป็นสีโปร่งใส ซึ่งทำให้มองทะลุเห็นพื้นหลัง (ใช้ได้กับภาพที่มาจากไฟล์อื่นเท่านั้น)
ตั้งค่ารูปภาพใหม่ ยกเลิกการปรับแต่งทั้งหมด ให้ภาพกลับไปเป็นแบบเดิมก่อนตกแต่ง

4.  การจัดการกับข้อความ 

                การเลือกภาษาที่ใช้พิมพ์  (Accent  Gravel)

                ก่อนจะมีการเริ่มพิมพ์ข้อความลงไปบนเอกสารนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งต้องรู้จักแป้นพิมพ์ที่จะช่วยให้สามารถเปลี่ยนสถานการณ์พิมพ์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย  หรือจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ  คือแป้น ~  (รูปตัวหนอน )  และสังเกตสถานะของภาษาที่แถบแสดงสถานะ  (Status Bar)

                การป้อนข้อความ  (พิมพ์แทรก / พิมพ์ทับ)

                การพิมพ์ข้อความแบ่งออกเป็น  2  ลักษณะ  คือ

                1.  การพิมพ์แทรก

                     โดยทั่วไปแล้วมักเป็นค่าปกติของการพิมพ์  (Default)  เนื่องจากเมื่อมีการพิมพ์ข้อความก็จะแทรกต่อไปเรื่อย ๆ  โดยข้อความที่อยู่หลังจากตัวแทรกข้อความ  (  I  )  ยังคงเคลื่อนไป  สังเกตสถานการณ์พิมพ์แทรกได้จาก  Status Bar  ดังนี้     (Overtype) ให้สังเกตว่าปุ่มนี้จะมีตัวอักษรสีเทา

                2.  การพิมพ์ทับ

                     การพิมพ์ข้อความที่ทับข้อความเดิมที่มีอยู่แล้ว  โดยสังเกตสถานการณ์พิมพ์ทับได้จาก  Status Bar       (Overtype)  ให้สังเกตว่าปุ่มนี้จะมีสีเข้มขึ้น

                3  การลบข้อความ 

                การลบข้อความนั้นเป็นไปได้  2  ลักษณะ คือ

                1.  ลบตัวอักษรที่อยู่ทางด้านซ้ายของตัวแทรกข้อความ  (  I  )  ให้ใช้แป้น  [Backspace]

                2.  ลบตัวอักษรที่อยู่ทางด้านขวาของตัวแทรกข้อความ  (  I  )  ให้ใช้แป้น  [Delete]

5.  การยกเลิกคำสั่งและการทำซ้ำ  (Undo /Redo)

                การใช้คำสั่งหรือการพิมพ์ข้อความ  อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น  ซึ่งอาจจะเป็นด้วยคำสั่งที่เลือกจากเมนูหรือแถบเครื่องมือ  และการพิมพ์ข้อความ  ซึ่งสามารถยกเลิกหรือทำซ้ำคำสั่งต่าง ๆ  เหล่านั้นได้ดังนี้

                 

การยกเลิก  (Undo)   การยกเลิก  (Undo)   วิธีที่  คลิกเลือกเมนู  Edit à  Undo

วิธีที่  คลิกปุ่ม    บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน

วิธีที่  กดปุ่มบนแป้น  Ctrl + Z

 วิธีที่  คลิกเลือกเมนู  Edit à  Redo

วิธีที่  คลิกปุ่ม    บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน

วิธีที่  กดปุ่มบนแป้น  Ctrl + Y

 

6. การบันทึกข้อมูล  (Save / Save As)

                การบันทึกข้อมูล  คือ  การเก็บข้อความต่าง ๆ  ที่ได้พิมพ์หรือตั้งค่าต่าง ๆ  ที่ได้กำหนดเพื่อจะได้นำกลับมาใช้ได้ในภายหลัง  โดยการบันทึกข้อมูลมีด้วยกันอยู่  2  คำสั่ง  คือ  คำสั่ง  Save  และคำสั่ง  Save  As  ซึ่งใช้ต่างกันดังนี้

                บันทึกไฟล์เอกสาร  (Save)

                ใช้เมื่อต้องการบันทึกข้อมูลที่ใช้งานอยู่ปัจจุบัน  ซึ่งจะทำการบันทึกชื่อไฟล์เดิม  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. คลิกเลือกเมนู  File  >  Save  หรือกดแป้น  Ctrl+S
  2. สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่แถบสถานะ  (Status Bar)

                บันทึกไฟล์เอกสารเป็น   (Save As)

                ใช้เมื่อต้องการบันทึกข้อมูลที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันในชื่อไฟล์หรือไดรฟ์ที่แตกต่างไปจากเดิม  ซึ่งจะมีขั้นตอนการบันทึกดังต่อไปนี้

  1. คลิกเลือกเมนู  File  >  Save  As   หรือกดแป้น  F12
  2. คลิกเลือกไดรฟ์และตำแหน่งที่ต้องการบันทึก
  3. พิมพ์ชื่อไฟล์ที่ต้องการบันทึก
  4. คลิกปุ่ม
  5. สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่แถบแสดงสถานะ  (Status Bar )  แสดงข้อความกำลังบันทึกข้อมูลอยู่

7.  การจัดการกับเอกสาร

                การเปิดเอกสาร  (Close)

                การเปิดเอกสารที่กำลังเปิดใช้งานอยู่นั้น  สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

                วิธีที่  1  คลิกเลือกเมนู  File  >  Close

                วิธีที่  2  คลิกปุ่ม  Close    ที่แถบเมนู

                วิธีที่  3  กดแป้น  Ctrl +  W

การสร้างเอกสารใหม่  (New)

                การสร้างเอกสารใหม่นั้น เมื่อผู้ใช้เปิดโปรแกรมจะเห็นได้ว่าโปรแกรมได้สร้างไฟล์เอกสารขึ้นมา  เพื่อใช้งานอยู่แล้ว  1  เอกสาร  แต่ผู้ใช้ต้องการสร้างเพิ่มขึ้นมาใหม่อีก  สามารถทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

                วิธีที่  1  กดแป้น  Ctrl + N

                วิธีที่  2  คลิกที่ปุ่ม  New  บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน

                วิธีที่  3  คลิกที่เมนู File  >  New  คลิกเลือก  เอกสารเปล่า จากแถบเครื่องมือ  Task  Pane  จะได้หน้าต่างเอกสารใหม่

การกำหนดค่าให้กับเอกสาร  (Page  Setup)

                การค่าให้กับเอกสารจะได้กำหนดลักษณะต่าง ๆ  เพิ่มเติมขึ้นจากเดิม  ซึ่งเป็นค่ามาตรฐาน  มีขั้นตอนและรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. คลิกเลือกเมนู  แฟ้ม  >  ตั้งค่าหน้ากระดาษ
  2. คลิกเลือก  Tab  รูปแบบที่ต้องการปรับแต่ง

Tap  ระยะขอบ  เป็นการกำหนดค่าให้ระยะขอบของกระด้าน  ทั้งด้าน  บน  ล่าง  ซ้าย  ขวา

Tap  กระดาษ  เป็นการกำหนดค่าให้ขนาดกระดาษที่ต้องการ เช่น  A4  , F4,  F5

Tap  เค้าโครง  เป็นการกำหนดเค้าโครงว่าแต่ละหน้าจะให้มีลักษณะเป็นอย่างไร

  1. เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วกดปุ่ม  ตกลง

การเปิดเอกสารเดิม  (Open)

                การเปิดเอกสารเดิม  คือ  การนำเอกสารที่เคยถูกบันทึกไว้  แล้วเปิดขึ้นมาใช้งานหรือแก้ไขเพิ่มเติม  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. คลิกเลือกเมนู  แฟ้ม  > เปิด  หรือกดแป้น  Ctrl+  O  หรือคลิกที่ปุ่ม  Open  
  2. คลิกเลือกไดรว์ที่ต้องการเปิดเอกสาร
  3. คลิกเลือกชื่อไฟล์ที่ต้องการเปิด
  4. คลิกปุ่ม  เปิด
  5. จะเปิดหน้าต่างไฟล์ที่เลือกไว้

8.  มุมมอง (View )  ต่าง ๆ  ใน  Microsoft  Word  2003

                มุมมองต่าง ๆ  ใน  Microsoft  Word  2003  นั้น   แบ่งออกเป็นหลายมุมมองด้วยกัน  ซึ่งแต่ละมุมมองก็จะต้องมีลักษณะเด่นแตกต่างกัน  โดยสรุปได้ดังนี้

  1. 1.              มุมมองปกติ  (Normal  View)

เป็นการกำหนดมุมมองให้เห็นทุก ๆ  สิ่งที่พิมพ์ในเอกสาร  เหมาะสำหรับแก้ไขและกำหนดรูปแบบของข้อความ  ซึ่งจะแสดงตารางรูปแบบข้อความที่ดูง่าย  รวมถึงมุมมองปกติ  ผู้ใช้สามารถกำหนดด้วยเมนู
มุมมอง >  มุมมองปกติ

  1. 2.              มุมมองเค้าโครงเว็บ (Web Layout View)

เป็นการกำหนดมุมมองที่ช่วยให้การอ่านข้อความตามในเอกสารเป็นไปได้ง่ายขึ้น  ข้อความที่แสดงให้เป็นข้อความตามความกว้างของหน้าต่าง โปรแกรม  และตัดตอนให้พอดีกับหน้าต่างที่แสดงข้อความ การแสดงข้อมูลต่าง ๆ  บนเอกสารจะมีลักษณะที่คล้ายกับ Print Layout View ถ้าเอกสารที่กำลังเปิดใช้อยู่ไม่ได้แสดงอยู่ในมุมมองเค้าโครงเว็บ  ผู้ใช้สามารถกำหนดด้วยเมนู  มุมมอง > เค้าโครง

  1. 3.              มุมมองเค้าโครงหน้ากระดาษ  (Print Layout View)

มักเรียกมุมมองนี้ว่า  “มุมมองเหมือนพิมพ์”  เป็นมุมมองที่สามารถมองเห็นวัตถุต่าง ๆ  ที่วางลงไปบนเอกสาร  เช่น  ตาราง  กราฟ  วัตถุที่สร้างขึ้น  และรูปภาพ  เป็นต้น  มุมมองนี้ใช้ประโยชน์เพื่อการแก้ไขหัวกระดาษและท้ายกระดาษ  (Header and Footer)  จัดการขอบกระดาษ  สร้างคอลัมน์  วาดวัตถุต่าง ๆ  และกรอบข้อความ  ถ้าเอกสารที่กำลังเปิดใช้อยู่ไม่ได้แสดงอยู่ในมุมมองเหมือนพิมพ์ ผู้ใช้สามารถกำหนดเมนู  มุมมอง > เค้าโครงหน้ากระดาษ

9.   การเลือกข้อความ  ตัวอักษรและการยกเลิก

                การเลือกข้อความและตัวอักษร

การเลือกข้อความและตัวอักษร  เพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์จากกลุ่มคำที่ได้เลือกไว้  เช่น  ต้องการเปลี่ยนขนาด  เปลี่ยนฟอนต์  (แบบอักษร)  ตัวขีดเส้นใต้  เป็นต้น  สามารถทำได้หลายวิธี  ดังต่อไปนี้

1.  ใช้แป้นบนคีย์บอร์ด

     วิธีที่  1  เลือกเพียงบางส่วน

1.1      เลื่อนเมาส์ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของข้อความหรือตัวอักษรที่ต้องการเลือก

1.2      กดแป้น  Shift  ค้างไว้และกดแป้นต่อไปนี้

–                   กดแป้นลูกศรใด ๆ  เช่น  ¬®­¯

–                   กดแป้น  Home / End / Page Up / Page Down

1.3      ข้อความถูกเลือกเป็นแถบสีดำตามที่ต้องการ

     วิธีที่  2  เลือกทั้งเอกสาร

การเลือกข้อความทั้งเอกสารสามารถทำได้ดังนี้  กดแป้น  Ctrl +  A

2.  ใช้เมาส์

     วิธีที่  1  เลือกโดยการ  Drag  Mouse

1.1      คลิกเมาส์ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของข้อความ และกดเมาส์ค้าไว้

1.2      ลากเมาส์ไปให้เกิดเป็นแถบสีดำทับข้อความที่ต้องการเลือก

1.3      ปล่อยเมาส์เมื่อเลือกข้อความครบที่ต้องการ

     วิธีที่  2  เลือกข้อความเฉพาะคำ

        2.1 เลื่อนเมาส์ไปยังคำที่ต้องการเลือก

2.2 ดับเบิลคลิกที่คำที่ต้องการเลือก

       2.3 คำที่ต้องการเลือกจะปรากฏเป็นแถบสีดำ

     วิธีที่  3  เลือกข้อความทั้งบรรทัด

        3.1 เลื่อนเมาส์ไปด้านซ้ายสุดของข้อความในบรรทัดที่ต้องการ  ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็น

3.2 คลิกเมาส์ด้ายหน้าของข้อความในบรรทัดที่ต้องการ

       3.3 ข้อความในบรรทัดที่ต้องการจะปรากฏเป็นแบบสีดำ

     วิธีที่  4  เลือกข้อความทั้งย่อหน้า

        4.1 เลื่อนเมาส์ไปด้านซ้ายของย่อหน้าข้อความที่ต้องการ  ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็น

        4.2 ดับเบิลคลิกที่ด้านหน้าของย่อหน้าข้อความที่ต้องการ

        4.3 ข้อความย่อหน้าที่ต้องการจะปรากฏเป็นแถบสีดำ

10.   การออกจากโปรแกรม  Microsoft  Word  2003

การออกจากโปรแกรม  สามารถทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้  (เมื่อเปิดไฟล์ใช้งานเพียง 1 ไฟล์)

วิธีที่  1  คลิกเมนูแฟ้ม  > จบการทำงาน

วิธีที่  2  คลิกปุ่ม  Close  บน  Title Bar

วิธีที่  3  ดับเบิลคลิกที่สัญลักษณ์ของโปรแกรม  บน  Title Bar

วิธีที่  4  กดแป้น  Alt + F4

 

    การตกแต่งเอกสาร

2.1  การย้ายและการคัดลอกข้อความ

                การย้ายและคัดลอกข้อความนั้นมีขั้นตอนคล้ายกัน  สามารถทำได้หลายวิธีต่อไปนี้

                การย้ายข้อความโดยการ  Drag and Drop   มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

                1.  เลือกข้อความที่ต้องการย้าย   (Move)

                2.  เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปยังแถบสีที่เลือกไว้

                3. คลิกและลากเมาส์ข้อความที่เลือกไปยังตำแหน่งที่ต้องการ  (สังเกตตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะดังนี้        )

                4. ปล่อยปุ่มเมาส์  ข้อความจะวางลงในตำแหน่งที่เราเลื่อนเมาส์ไปปล่อย

                การคัดลอกข้อความโดยการ  Drag and Drop

                1.  เลือกข้อความที่ต้องคัดลอก   (Copy)

                2.  เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปยังแถบสีที่เลือกไว้

                3. กดแป้น  Ctrl   ค้างไว้  คลิกและลากเมาส์ข้อความที่เลือกไปยังตำแหน่งที่ต้องการ  (เมาส์จะมี      ลักษณะดังต่อไปนี้        )

                4. ปล่อยปุ่มเมาส์  ข้อความจะคัดลอกไปลงในตำแหน่งที่เราเลื่อนเมาส์ไปปล่อย

                การย้ายข้อความโดยใช้คำสั่ง  Cut + Paste

  1. เลือกข้อความที่ต้องการย้าย
  2. คลิกปุ่ม  Cut    บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน  หรือเลือกเมนู  แก้ไข >  ตัด   หรือกดแป้น  Ctrl + X (เมื่อใช้คำสั่ง ตัดแล้ว  ข้อความที่ถูกเลือกไว้จะถูกตัดเก็บไว้ในหน่วยความจำ  ให้สังเกตว่าข้อความต้นฉบับจะหายไป
  3. คลิกตำแหน่งที่ต้องการวางข้อความที่ได้ย้ายไว้  (ถ้าต้องการย้ายข้อความไปยังเอกสารอีกฉบับหนึ่ง  ให้สลับไปที่เอกสารฉบับนั้น
  4. คลิกปุ่ม  Paste   บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน  หรือเลือกเมนู  แก้ไข  >  วาง หรือกดแป้น  Ctrl + V

                การคัดลอกข้อความโดยใช้คำสั่ง  Copy + Paste

  1. เลือกข้อความที่ต้องการคัดลอก
  2. คลิกที่ปุ่ม  Copy    บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน  หรือเลือกเมนู แก้ไข  > คัดลอก  หรือกดแป้น  Ctrl+C
  3. คลิกตำแหน่งที่ต้องการวางข้อความที่ได้คัดลอกไว้ (ถ้าต้องการคัดลอกข้อความไปยังเอกสารอีกฉบับหนึ่งให้สลับไปที่เอกสารฉบับนั้น)
  4. คลิกปุ่ม  Paste   บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน  หรือเลือกเมนู  แก้ไข  >  วาง หรือกดแป้น  Ctrl + V
  5. ข้อความจะไปวางลงในตำแหน่งที่ได้ทำการเลือกไว้

2.2  การกำหนดค่าต่าง ๆ  ให้กับตัวอักษร

                การกำหนดค่าต่าง ๆ  ให้กับตัวอักษรนั้นสามารถปรับจากแถบเครื่องมือรูปแบบได้อย่างง่ายโดยการปรับค่าต่าง ๆ  นั้นประกอบไปด้วยลักษณะของแบบอักษรในลักษณะต่าง ๆ  ดังนี้

                รูปแบบอักษรหรือฟอนต์

                รูปแบบอักษรมักจะพูดกันติดปากว่า  “ฟอนต์”  จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันมาก  ซึ่งรูปแบบอักษรแบ่งออกเป็น  2  ประเภทด้วยกัน  คือ

  1. Complex Scripts คือ  รูปแบบที่ใช้กับภาษาไทยเพียงอย่างเดียว  จะลงท้ายด้วย  UPC
  2. Latin  Text  คือรูปแบบอักษรที่ใช้เปลี่ยนให้กับอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนรูปแบบอักษร มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

à เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบอักษร

à คลิกเลือกรูปแบบฟอนต์จากรายการรูปแบบอักษรที่ให้มา

à รูปแบบอักษรจะเปลี่ยนไปตามแบบที่ได้เลือกไว้

                การเปลี่ยนขนาดฟอนต์

                การเปลี่ยนขนาดฟอนต์  คือการทำให้ขนาดตัวอักษรใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงตามขนาดที่ต้องการ  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

                1.  เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนขนาดฟอนต์ของข้อความนั้น

                2.  คลิกเลือกขนาดของฟอนต์จากรายการรูปแบบอักษรที่ให้มา

                3.  เลือกขนาดของฟอนต์ที่ต้องการ

 ขอบคุณเว็บไซต์ https://www.google.co.th/webhp?hl=th&tab=ww#hl=th&output=search&sclient=psy-ab&q=%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1+Microsoft+Word+2003&oq=%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1+Microsoft+Word+2003&gs_l=hp.3..0j0i8i30.1997.1997.0.3621.1.1.0.0.0.0.102.102.0j1.1.0….0…1c.2.19.psy-ab.3MCrhWEaapY&pbx=1&bav=on.2,or.r_qf.&bvm=bv.48705608,d.bmk&fp=6812ee30331e1cb5&biw=1366&bih=677